رَمَضَانَ مُبَارَكٌ รอมฎอนมหาประเสริฐ
:قَالَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّم
يَا أَيُّهَا النَّاسُ قَدْ أَظَّلَكُم شَهْرٌ عَظِيْمٌ مُبَارَكٌ، شَهْرٌ فِيْهِ لَيْلَةٌ خَيْرٌ مِنْ أَلْفِ شَهْرٍ، شَهْرٌ جَعَلَ اللهُ صِيَامَهُ فَرِيْضَةً، وَقِيَامَ لَيْلِهِ تَطَّوُعًا،مَنْ تَقَرَّبَ فِيْهِ بِخَصْلَةٍ مِنَ الخَيْرِ كَانَ كَمَنْ أَدَّى فَرِيْضَةً فِيْمَا سِوَاهُ، وَمَنْ أَدَّى فَرِيْضَةً فِيْهِ كَانَ كَمَنْ أَدَّى سَبْعِيْنَ فَرِيْضَةً فِيْمَا سِوَاهُ، وَهُوَ شَهْرُ الصَّبْرِ، وَالصَّبْرُ ثَوَابُهُ الجَنَّةُ، وَشَهْرُالمُوَاسَاةِ، وَشَهْرٌ يُزَادُ رِزْقُ المُؤْمِنِ فِيْهِ، مَنْ فَطَّرَ فِيْهِ صَائِمًا كَانَ مَغْفِرَةً لِذُنُوبِهِ وَعِتْقَ رَقَبَتِهِ مِنَ النَّارِ، وَكَانَ لَهُ مِثْلُ أَجْرِهِ مِنْ غَيْرِ أَنْ يَنْفُصَ مِنْ أَجْرِهِ شَيْءٌ قَالُوْا يَا رَسُولَ اللهِ: لَيْسَ كُلُّنَا نَجِدُ مَا يُفَطِّرُ الصَّائِمَ فَقَالَ رَسُولُ اللهِ يُعْطِي اللهُ هَذَا الثَوَابَ مَنْ فَطَّرَ صَائِمًا عَلَى تَمْرَةٍ أَو عَلَى شَرْبَةِ مَاءٍ أَو مَذْقَةِ لَبَنٍ، وَهُوَ شَهْرٌ أَوَّلُهُ رَحْمَةٌ، وَأَوسَطُهُ مَغْفِرَةٌ، وَآَخِرُهُ عِتْقٌ مِنَ النَّارِ، وَاسْتَكْثِرُوا فِيْهِ مِنْ أَرْبَعِ خِصَالٍ : خَصْلَتَيْنِ تُرْضُونَ بِهِمَا رَبَّكُمْ، وَخَصْلَتَيْنِ لَا غِنَاءَ بِكُمْ عَنْهُمَا، فَأَمَّا الخَصْلَتَانِ اللَّتَانِ تُرْضُونَ بِهِمَا رَبَّكُمْ: فَشَهَادَةُ أَنْ لَا إِلَهَ إِلَّا الله وَتَسْتَغْفِرُونَهُ، وَأَمَّا الخَصْلَتَانِ اللَّتَانِ لَا غِنَاءَ بِكُمْ عَنْهُمَا: فَتَسْأَلُونَ اللهَ الجَنَّةَ، وَتَعُوذُونَ بِهِ مِنَ النَّارِ، وَمَنْ سَقَى صَائِمًا سَقَاهُ اللهُ مِِنْ حَوضِي شَرْبَةً لَا يَظْمَأُ حَتَّى يَدْخُلُ الجَنَّةَ ” أخرجه ابن خزيمة في صحيحه/1887
ความว่า: โ้อ้บรรดามนุษย์ทั้งหลาย เดือน(รอมฎอน)อันยี่งใหญ่มหาจำเริญกลับมาเยือนพวกท่านแล้ว เดือนที่มีคืนหนึ่งที่ประเสริฐกว่าหนึ่งพันเดือน เดือนที่บัญญัติให้ถือศีลอด และส่งเสริมอย่างยิ่งให้ทำการอิบาดัต(ปฏิบัติศาสนกิจ)ในยำค่ำคืน ผู้ใดที่ปฏิบัติความดีเพียงหนึ่งเดียวเสมือน(เทียบเท่าผลบุญ)เขาได้ปฏิบัติฟัรฎู(บังคับ)ในเดือนอื่นๆ และผู้ใดปฎิบัติฟัรฏูเพียงหนึ่งเดียวเสมือน(่เทียบเท่าผลบุญ)เขาได้ปฏิบัติเจ็ดสิบฟัรฎูในเดือนอื่นๆ เป็นเดือนแห่งการอดทนและความอดทนนั้นผลตอบแทนคือสวรรค์ เดือนแห่งการเกื้อกูลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เดือนที่เพิ่มริสกี(ปัจจัยยังชีพ)แก่ผู้ศรัทธา ผู้ที่ให้ทานเพื่่อการละศีลอดเขาได้รับการอภัยโทษลบล้างบาปกรรมและหลุดพ้นจากไฟนรกและเขาจะได้ผลบุญตอบแทนที่เต็มเปี่ยมเหมือนกับผู้ถือศีลอดโดยไม่ได้ลดหย่อนแม้แต่นัอย แล้วท่านศอฮาบะฮฺกล่าวว่า: มิไช่ว่าพวกเรามีความสามารถให้บริจากทานเพื่อละศีลอดกันทุกคน(เพราะยากจน) ท่านศาสดาตอบว่า: อัลลอฮฺทรงตอบแทนผลบุญแก่ผู้ที่ให้ทานละศีลอด(เล็กน้อย)แม้จะเป็นลูกอิทผลัมหนึ่งเม็ดหรือน้ำหนึ่งอึกหรือนมหนึ่งแก้ว, และในเดือนของช่วงสิบวันแรกเป็นการเมตตา และในช่วงสิบวันกลางเป็นการให้อภัยโทษ และช่วงสิบวันสุดท้ายเป็นการหลุดพ้นจากไฟนรก และจงปฎิบัติให้มากในสี่อย่างนี้: สองอย่างแรกเพื่่อพึ่งพอพระทัยของพระองค์และอีกสองอย่างหลังนั้นเป็นสิ่งจำเป็นยิ่งสำหรับพวกท่าน ในส่วนสองอย่างแรกนี้คือการปฏิญาณตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺและการขออภัยโทษต่อพระองค์ และสองอย่างหลังที่พวกท่านจำเป็นคือการขอสวนสวรรค์จากพระองค์และขอให้รอดพ้นจากไฟนรก และใครให้ทานน้ำอาหารแก่ผู้ถือศีลอดอัลลอฮฺทรงให้เขาได้ดื่มน้ำจากสระน้ำชองฉัน(ศาสดามูหัมมัด)ซึ่่งเมื่อดื่มแล้วจะไม่กระหายอีกตลอดไปจนกระทั่งได้เข้าสวนสวรรค์ (รายงาน: อิบนูคูซัยมะฮฺ;1887)
รอมฎอนและอัลกุรอาน
พระองค์อัลลอฮฺทรงกล่าวถึงชื่อเดือนรอมฎอนไว้เฉพาะในอัลกุรอานซึ่งไม่ได้กล่าวถึงเดือนอื่นๆจากสิบสองเดือน แสดงถึงเกียรติและความสำคัญอันยิ่งใหญ่ของเดือนรอมฎอน ทั้งนี้พระองค์ทรงผูกพันการประทานอัลกุรอานในเดือนนี้โดยตรงและการบัญญัติให้ถือศีลอดไว้หลังจากนั้น อัลลอฮฺตรัสว่า : “شَهْرُ رَمَضانَ الَّذِي أُنْزِلَ فِيْهِ القُرْآنُ هُدًى لِلنَّاسِ وَبَيِّنَاتٍ مِنَ الهُدَى وَالفُرْقَانِ فَمَنْ شَهِدَ مِنْكُمُ الشَّهْرَ فَلْيَصُمْهُ” ความว่า: เดือนรอมฎอนนั้นเป็นเดือนที่อัลกุรอานได้ถูกประทานลงมาในฐานะเป็นข้อแนะนำสำหรับมนุษย์และเป็นหลักฐานอันชัดเจนเกี่ยวกับข้อแนะนำนั้นและเกี่ยวกับสิ่งที่จำแนกระหว่างความจริงกับความเท็จดังนั้นผู้ใดในหมู่พวกเจ้าเข้าอยู่ในเดือนนั้นแล้วก็จงถือศีลอดในเดือนนั้น.[ซูเราะฮฺอัลบากอรอฮฺ:185] การสัมผัสรับรู้ถึงความยิ่งใหญ่และความประเสริฐของเดือนรอมฎอนก็เพราะว่าในเดือนนี้มีการประทานอัลกุรอาน อัลกุรอานเป็นคู่มือและทางนำสำหรับมนุษยชาติ (ِ هُدًى لِلنَّاسِ) เป็นสาสน์ที่ให้ความกระจ่างชัดของทางนำนั้น (بَيِّنَاتٍ مِنَ الهُدَى) อัลลอฮฺตรัสว่า: “إِنَّا أَنْزَلْنَا عَلَيْكَ الكِتَابَ لِلنَّاسِ بِالحَقِّ فَمَنِ اهْتَدَى فَلِنَفْسِهِ وَمَنْ ضَلَّ فَإِنَّمَا يَضِلُّ عَلَيْهَا “ ความว่า: แท้จริงเราได้ประทานคัมภีร์แก่เจ้าเพื่อมนุษยชาติด้วยสัจธรรม ดังนั้นผู้ใดปฏิบัติตามแนวทางที่ถูกต้องก็จะได้แก่ตัวของเขาเองและผู้ใดหลงทางเขาก็จะหลงอยู่บนทางที่ผิด[ซูเราะฮฺอัซซูมัร:41], อัลกุรอานเป็นทางนำที่เที่ยงตรงยิ่ง (إِنَّ هَذَا القُرْآنَ يَهْدِي لِلَّتِي هِيَ أَقْوَمُ) ความว่า: แท้จริงอัลกุรอานนี้นำสู่ทางที่เที่ยงตรงยิ่ง[ซูเราะฮฺ อัลอิสรออฺ:9], เป็นเส้นทางการเดินทางของชีวิตสู่เป้าหมายที่เที่ยงแท้ (الصِّرَاطُ المُسْتَقِيْمُ) เป็นตัวจำแนกระหว่างสิ่งที่เป็นความจรืงกับความเท็จ (الفُرْقَانُ) เป็นสายเชือกผูกพันอันแข็งแกร่งของพระองค์อัลลอฮฺ (حَبْلُ اللهِ المَتِيْن).. ดังนั้น เดือนรอมฎอนพึ่งเปรียบได้เสมือนบ้านหรือพื้นที่สำหรับรองรับการประทานลงมาของอัลกุรอาน อัลลอฮฺตรัสว่า : “إِنَّا أَنْزَلْنَاهُ فَي لَيْلَةِ القَدْرِ” ความว่า: แท้จริงเราได้ประทานอัลกุรอานลงมาในคืนอัลก็อดร[ซูเราะฮฺ อัลก็อดรฺ:1] คืนอัลก็อดรฺ คือ คืนหนึ่งในเดือนรอมฎอนที่พระองค์อัลลอฮฺให้เป็นคืนมหาประเสริฐ พระองค์ประทานความดีงาม ความจำเริญเหนือคืนอื่น ๆ ในรอบปี คืนที่ดีกว่าหนึ่งพันเดือน อัลลอฮฺตรัสว่า : “لَيْلَةُ القَدْرِ خَيْرٌ مِنْ أَلْفِ شَهْرٍ” ความว่า: คืนอัลก็อดรฺนั้นดียิ่งกว่าหนึ่งพันเดือน[ซูเราะฮฺ อัลก็อดรฺ:3] และอัลก็อดรฺหมายถึงคืนแห่งการกำหนดและชี้ขาดกิจการต่างๆแห่งกฏสภาวการณ์ของพระองค์และเป็นค่ำคืนแห่งความเมตตา อัลลอฮฺตรัสว่า:
“ إِنَّا أَنْزَلْنَاهُ فِي لَيْلَةٍ مُبَارَكَةٍ إِنَّا كُنَّا مُنْذِرِيْنَ ، فِيْهَا يُفْرَقُ كُلُّ أَمْرٍ حَكِيْمٍ ، أَمْرًا مِنْ عِنْدِنَا إِنَّا كُنَّا مُرْسِلِيْنَ ، رَحْمَةً مِنْ رَبَِكَ إِنَّهُ هُوَ السَمِيعُ العَلِيمُ” ความว่า: แท้จริงเราได้ประทานอัลกุรอานลงมาในคืนอันจำเริญ แท้จริงเราเป็นผู้ตักเตือน ในคืนนั้นทุกๆกิจการที่สำคัญถูกจำแนกไว้แล้ว โดยทรงบัญชามาจากเรา แท้จริงเราเป็นผู้ส่งมา เป็นความเมตตาจากพระเจ้าของเจ้า แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้[ซูเราะฮฺ อัดดุคอน:2-6]
รอมฎอนและศีลอด
อัลลอฮฺทรงกล่าวถึงบทบัญญัติศาสนกิจในเดือนรอมฎอนไว้หลายประการ หนึ่งในบทบัญญัตคือการให้ถือศีลอด อัลลอฮฺตรัสว่า:
“يَا أَيُّهَا الَّذِي آمَنُوا كُتِبَ عَلَيْكُمُ الصِّيَامُ كَمَا كُتِبَ عَلَى الَّذَي مِنْ قَبْلِكُمْ لَعَلَّكُمْ تَتَّقُوْنَ“ ความว่า: บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย การถึอศีลอดนั้นได้ถูกกำหนดแก่พวกเจ้าแล้ว เช่นเดียวกับที่ถูกกำหนดแก่บรรดาผู้ก่อนหน้าพวกเจ้ามาแล้ว เพื่อพวกเจ้าจะยำเกรง([ซูเราะฮฺ อัลบะกอรอฮฺ:183] และอัลลอฮฺตรัสว่า “ فَمَنْ شَهِدَ مِنْكُمُ الشَّهْرَ فَلْيَصُمْهُ “ ความว่า: ดังนั้นผู้ใดในหมู่พวกเจ้าอยู่ในเดือนนั้นแล้ว ก็จงถือศีลอดในเดือนนั้น([ซูเราะฮฺ อัลบากอรอฮฺ:185]. และท่านรอซูล(ศ็อลฯ)กล่าวว่า “ ِصُوْمُوا لِرُؤْيَتِهِ وَأَفْطِرُوا لِرُؤْيَتِه “ ความว่า: พวกท่านจงถือศีลอดเมื่อรู้เห็นเดือน(รอมฎอน)และจงละศีลอด(ออกอีด-อีดิลฟีตร์)เมื่อรู้เห็นเดือนถัดไป(เดือนซาวัล)[รายงาน: มุสลิม/2379] ฮิกมะฮฺ(เหตุผลและเป้าหมาย)ที่บัญญัติให้ถือศีลอดนั้นเกิดผลหลายประการ ดังเช่น
1)- ความยำเกรง (التَّقْوَى) และการเพิ่มอีหม่านต่อพระองค์อัลลอฮฺ ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่สูงสุด(لَعَلَّكُمْ تَتَّقُوْن).
2)- ได้รับการอภัยโทษ (المَغْفِرَة) การถือศีลอดด้วยแรงศรัทธาที่บริสุทธิ์ใจจะได้รับการอภัยโทษจากบาปกรรมที่เคยกระทำมา
ท่านรอซูล(ศ็อลฯ)กล่าวว่า “مَنْ صَامَ رَمَضَانَ إِيْمَانًا وَاحْتِسَابًا غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ“ ความว่า: ผู้ใดถือศีลอดด้วยความศรัทธามั่นและเปี่ยมด้วยความหวังผลตอบแทนจากอัลลอฮฺ เขาได้รับการอภัยโทษในสิ่งที่เขาได้กระทำบาปกรรมที่ผ่านมา[รายงาน อัลบุคอรีย์/2014และมุสลิม/760],
และรอซูล(ศ็อลฯ)กล่าวว่า”مَنْ قَامَ رَمَضَانَ إِيْمَانًا وَاحْتِسَابًا غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ “ ความว่า: ผู้ใดลุกขึ้น(ละหมาดและประกอบความดีงาม)ในเดือนรอมฎอนด้วยความศรัทธาและเปี่ยมด้วยความหวังผลตอบแทนจากอัลลอฮฺเขาได้รับการอภัยโทษในสิ่งที่เขาได้กระทำบาปกรรมที่ผ่านมา[รายงาน:อัลบุคอรีย์/37และมุสลิม/759],
3)- ป้องกันความชั่วร้ายและโรคภัย (جُنَّة) การถือศีลอดเป็นเกราะป้องกันสิ่งชั่วร้ายทั้งทางกายและใจ โรคภัยไข้เจ็บและจากไฟนรก ท่านรอซูล(ศ็อลฯ)กล่าวว่า “ ٌالصِّيَامُ جُنَّة “ ความว่า: การถือศีลอดคือเกราะป้องกัน (หมายถึงการป้องกัน และการเป็นเกราะกำบัง-อิบนุ หะจัร์อัลอิสกอลานีย์), และท่านรอซูล(ศ็อลฯ)กล่าวว่า ”صُوْمُوا تَصِحُّوا“ ความว่า: พวกเจ้าทั้งหลายจงถือศีลอดเถิด แล้วพวกเจ้าจะแข็งแรง[รายงาน อัฎฎ็อบรอนีย์]
4)- ความอดทน( ُالصَّبْر)และผลตอบแทนสวนสวรรค์(الجَنَّة) ท่านรอซูล(ศอลฯ)กล่าวว่า”وَ”هُوَ شَهْرُ الصَّبْرِ وَالصَّبْرُ ثَواَبُهُ الجَنّة ความว่า: เป็นเดือนแห่งการอดทนและความอดทนนั้นผลตอบแทนคือสวรรค์ [รายงาน อิบนุ คุซัยมะฮฺ/1887] เพราะการอดทนจากการอดอาหาร งดน้ำ เครื่องดื่ม ละเว้นการมีเพศสัมพันธ์ ละเว้นการพูดจาหยาบคาย อิจฉาริษยา ขจัดกิเลสตัณหา อคติ การละเมิดสิทธิผู้อื่น เป็นต้น ท่านรอซูล(ศ็อลฯ)กล่าวว่า “ ٌلَيْسَ الصِّيِامَ مِنَ الْأَكْلِ وَالشُّرْبِ وَإِنَّمَا الصِّيَامُ مِنَ اللَّغْوِ والرَّفَثِ فَإِنْ سَابَّك أَحَدٌ وجَهِلَ عَلَيكَ فَقُلْ إِنِّي صَائِم ” ความว่า: การถือศีลอดมิใช่(การละเว้น)จากการกินและการดื่มเท่านั้นแต่การถือศีลอด(จะต้องละเว้น)จากวาจาหรือการกระทำที่ไร้สาระและการพูดจาหยาบคาย ลวนลามด้วย หากผู้ใดด่าทอหรือเยาะเย้ยท่านจงกล่าวแก่เขาว่าฉันเป็นผู้ถือศีลอด [รายงาน อัลฮากิม/1570] และในทางคู่ขนานกับการบัญญัติให้ถือศีลอดนี้ก็มีการเพิ่มหรือส่งเสริมให้ปฎิบัติศาสนกิจและความดีอื่นๆและการเสียสละมากขึ้นในห้วงเวลาของเดือนรอมฎอน นอกจากบัญญัติให้ถือศีลอดที่บังคับในเวลากลางวันแล้ว ก็ให้มีการกิยามุลลัยล์(ลุกขึ้นปฏิบัติศาสนกิจในยามค่ำาคืน) เช่น การละหมาดตะรอแวฮ์และอื่นๆในค่ำคืนขิงเดือน รอมฎอนจึงเป็นเดือนแห่งการทดสอบสำหรับมุอฺมินที่ต้องการความอดทนความมุ่งมั่นอย่างสูง
5)- การเกื้อกูลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน (المُوَاسَاةُ), การเพิ่มพูนริสกี การตอบแทนผลบุญแก่มุอฺมิน การอภัยโทษ และการหลุดพ้นจากไฟนรก ท่านรอซูล(ศ็อลฯ) กล่าวว่า”شَهْرُ الْمُوَاسَاةِ وشَهْرٌ يُزَادُ رِزْقُ الْمُؤْمِنِ فِيْهِ، مَنْ فَطَّرَ فِيْهِ صَائِمًا كَانَ لَهُ مَغْفِرَةٌ لِذُنُوبِهِ وَعِتْقُ رَقَبَتِهِ مِنَ النَّارِ“ ความว่า: เดือนแห่งการเกื้อกูลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เดือนที่เพิ่มริสกี (ปัจจัยยังชีพ) แก่ผู้ศรัทธา การอภัยโทษและหลุดพ้นจากไฟนรก[รายงาน อิบนุ คุซัยมะฮฺ/1887] และตอบแทนผลบุญความดีนั้นหลายเท่า ท่านรอซูล(ศ็อลฯ)กล่าวจากหะดืษอัลกุดสีย์ว่า”كُلُّ عَمَلِ ابْنِ آدَمَ يُضَاعَفُ، الْحَسَنَةُ عَشْرُ أَمْثَالِهَا إِلَى سَبْعِمِائَةِ ضِعْفٍ قَالَ اللهُ عَزَّ وَجَلَّ إِلَّا الْصَوْمَ فَإِنَّهُ لِي وَأَنَا أَجْزِيْ بِهِ يَدَعُ شَهْوَتَهُ وَطَعَامَهُ مِنْ أَجْلِي“ ความว่า: ทุกการงานของมนุษย์นั้นจะได้รับการตอบแทนหลายเท่า หนึ่งความดีจะได้รับเท่าทวีตั้งแต่สิบถึงเจ็ดร้อยเท่า โดยอัลลอฮฺตรัสว่า นอกจากการถือศีลอด เพราะมันสำหรับข้า และข้าจะตอบแทนในสิ่งนี้เอง เขาได้ละทิ้งตัณหาและอาหารเพื่อข้า [รายงาน มุสลิม/1150]
6)- ประตูสวรรค์และความดีถูกเปิดกว้าง ประตูนรกและความชั่วถูกปิด และชัยฏอนมารร้ายถูกล่ามโซ่ รอซูล(ศ็อลฯ)กล่าวว่า” إِذَا كَانَ أَوَّلُ لَيْلَةٍ مِنْ شَهْرِ رَمَضَانَ صُفِّدَتِ الشَّيَاطِيْنَ وَمَرَدَةُ الجِنِّ وَغُلِّقَتْ أَبْوَابُ النَّارِ فَلَمْ يُفْتَحْ مِنْهَا بَابٌ وَفُتِحَتْ أَبْوَابُ الجَنَّةِ فَلَمْ يُغْلَقْ مِنْهَا بَابٌ وَيُنَادِي مُنَادٍ يَا بَاغِيَ الخَيْرِ أَقْبِلْ وَيَا بَاغِيَ الشَّرِ أَقْصِرْ وَلِلّهِ عُتَقَاءُ مِنَ النَّارِ وَذَلِكَ كُلُّ لَيْلَةٍ“ ความว่า: เมื่อค่ำคืนแรกของรอมฎอนได้มาถึง ซัยฏอนที่ชั่วร้ายทั้งหลายจะถูกล่ามโซ่ ประตูนรกทุกๆบานจะถูกปิด ไม่ถูกเปิดแม้แต่บานเดียว ประตูสวรรค์ทุกๆบานจะถูกเปิด ไม่ถูกปิดแม้แต่บานเดียว แล้วจะมืมะลาอิกะฮฺกล่าวเรียกขานว่า โอ้ผู้ปราถนาจะแสวงหาความดีงาม จงขวนขวายเถิด โอ้ผู้ปราถนาทำความวั่ว จงหยุดเถิด และเป็นเอกสิทธิ์ของอัลลอฮฺในการปลดปล่อยบ่าวของพระองค์เป็นจำนวนมากจากไฟนรก ซึ่งการปลดปลอยให้พ้นจากไฟนรกนี้จะเกิดขึ้นในทุกๆค่ำคืนของเดือนรอมฎอน[รายงาน อัตติรมิซีย์:682].
รอมฎอนและค่ำคืนอัลก็อดร์
อัลลอฮฺทรงประทานความดีงามของค่ำคืนหนึ่งในรอบปีที่ประเสริฐทึ่สุดคือลัยละตุลก็อดร์ (لَيْلَةُ الْقَدْرِ) คืนทรงเกียรติแห่งการประทานอัลกุรอานลงมา ณ ชั้นฟ้าโลก อัลลอฮฺตรัสว่า “ إِنَّا أَنْزَلْنَاهُ فِي لَيْلَةِ الْقَدْرِ” ความว่า: แท้จริงเราได้ประทานอัลกุรอานลงมาในคืนอัลก็อดรฺ[ซูเราะฮฺ อัลก็อดรฺ:1] คืนก็อดรฺที่เหนือกว่าหนึ่งพันเดือน บรรดามะลาอิกะฮฺและญิบริลจะลงมาในค่ำคืนนั้น คืนที่มีรัศมีแสงสว่าง ความเมตตาของพระเจ้าได้แผ่คลุมไปยังปวงบ่าวของพระองค์ผู้ศรัทธา คืนที่มีความศานติ อัลลอฮฺตรัสว่า “ ٌلَيْلَةُ الْقَدْرِ خَيْرٌ مِنْ أِلْفِ شِهْرٍ تَنَزَّلُ الْمَلآئِكَةُ وَالرُّوحُ فِيْهِا بِإِذْنِ رَبِّهِمْ مِنْ كُلِّ أَمْرٍ سَلَام هِيَ حَتَّى مَطْلَعِ الْفَجْرِ “ ความว่า: คืนอัลก็อดร์นั้นดียิ่งกว่าหนึ่งพันเดือน บรรดามะลาอิกะฮฺและอัลรูฮฺ(ญิบริล)จะลงมาในคืนนั้น โดยอนุมัติแห่งพระเจ้าของพวกเขา เนื่องจากกิจการทุกสิ่ง คืนนั้นมีความศานติจนกระทั่งรุ่งอรุณ(บรรดามะลาอิกะฮฺจะขอความศานติให้แก่บรรดามุอฺมินให้พ้นจากความชั่วร้ายต่างๆ)[ซูเราะฮฺ อัลก็อดรฺ:3-5] พระองค์ทรงเรียกคืนของการประทานอัลกุรอานนี้ว่าคืนอันจำเริญ(لَيْلَةٌ مُبَارَكَةٌ) ซึ่งเป็นคืนที่ประเสริฐยิ่ง คืนอัลก็อดรฺได้มีการชี้แจงกิจการของมนุษย์ว่าได้ถูกจำแนกและได้ถูกจัดเตรียมไว้ในคืนอันนั้นด้วย อัลลอฮฺตรัสว่า “ إِنَّا أَنْزَلْنَاهُ فِي لَيْلَةٍ مُبَارَكَةٍ إِنَّا كُنَّا مُنْذِرِيْنَ فَيْهَا يُفْرَقُ كُلُّ أَمْرٍ حَكِيْمٍ أَمْرًا مِنْ عِنْدِنَا إِنَّا كُنَّا مُرْسِلِيْنَ” ความว่า: แท้จริงเราได้ประทานอักุอานลงมาในคินอันจำเริญ แท้จริงเราเป็นผู้ตักเตือน ในคืนนั้นทุกๆกิจการที่สำคัญถูกจำแนกไว้แล้ว โดยทรงบัญชามาจากเรา แท้จริงเราเป็นผู้ส่งมา [ซูเราะฮฺ อัดดุคอน:3-5] และเป็นคืนที่พระองค์จะให้การอภัยโทษแก่ผู้ศรัทธามุอฺมินและเป็นคืนที่พระองค์ทรงปลดปล่อยให้มนุษย์รอดพ้นจากไฟนรกมากที่สุด รอซูล(ศ็อลฯ)กล่าวว่า “ مَنْ قَامَ لَيْلَةَ الْقَدْرِ إِيْمَانًا وَاحْتِسَابًا غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ“ ความว่า: ผู้ใดลุกขึ้น(ละหมาดและประกอบความดืงาม)ในค่ำคืนอัลก็อดรฺด้้วยศรัทธามั่นและหวังในผลบุญ เขาจะได้รับการอภัยโทษจากความผิดบาปที่ผ่านมาของเขา [อัลบุคอรีย์:2014 และมุสลิม:760] และค่ำคืนที่มีความหวังน่าจะเป็นที่สุดคือคืนของสิบวันสุดท้ายของเดือนรอมฎอน ดังคำกล่าวของท่านรอซูล(ศ็อลฯ)ที่ว่า ” َتَحَرَّوا لَيْلَةَ القَدْرِ فِي العَشْرِ الأَوَاخِرِ مِنْ رَمَضَان” ความว่า: พวกท่านจงแสวงหาค่ำคืนอัลก็อดรฺในสิบคืนสุดท้ายของเดือนรอมฎอน[บันทึก อัลบุคอรย์/2020และมุลิม/1169] ดังนั้นคืนอัลก็อดรฺเป็นคืนที่อัลลอฮฺได้รวมความดีงาม ความจำเริญไว้เพื่อรองรับการประทานอัลกุรอานลงมาและเป็นค่ำคืนหนึ่งของเดือนรอมฎอนที่ประเสริฐที่สุด.
รอมฎอนและการบริจาคทาน(ศอดะกอฮฺ)
การให้ทานเป็นสิ่งที่ส่งเสริมอย่างยิ่งในอิสลามโดยเฉพาะในเดือนรอมฎอนซึ่งเป็นเดือนแห่งการเกื้อกูลเมตตาช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เห็นอกเห็นใจ การบริจาคให้ทาน.., ท่านรอซูล(ศ็อลฯ)กล่าวว่า “شَهْرُ المُوَاسَاةِ“ ความว่า: เดือนแห่งการช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน[รายงาน อิบนุคุซัยมะฮฺ/1887], ท่านรอซูล(ศ็อลฯ)กล่าวว่า ” مَنْ فَطَّرَ صَائِمًا كَانَ لَهُ مِثْلُ أَجْرِهِ غَيْرَ أَنَّهُ لَا يَنْقُصُ مِنْ أَجْرِ الصَّائِمِ شَيْئًا“ ความว่า: ใครให้ทานเพื่อการละศีลอดแก่ผู้ถือศีลอด เขาจะได้รับผลบุญตอบแทนเหมือนกับคนที่ถือศิลอดนั้นอย่างเต็มเปี่ยมโดยไม่ได้ลดหย่อนผลบุญแม้แต่น้อย[รายงาน อัตติรมีซีย์/807],
ท่านรอซูล(ศ็อลฯ)กล่าวว่า “أَفْضَلُ الصَّدَقَةِ صَدَقَةٌ فِي رَمَضَانَ” ความว่า: ศอดากอฮฺที่ดีที่สุดนั้นคือศอดากอฮฺที่กระทำในเดือนรอมฎอน[รายงาน อัตติรมีซีย์],
และท่านรอซูล(ศ็อลฯ)นั้นเป็นผู้ประเสริฐสุดในการทำความดี การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และการให้
“ كَانَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَجْوَدَ النَّاسِ بِالخَيْرِ وَكَانَ أَجْوَدُ مَا يَكُونُ فِي رَمَضَانَ حِيْنَ يَلْقَاهُ جِبْرِيْلُ وَكَانَ يَلْقَاهُ ِفي كُلِّ لَيْلَةٍ مِنْ رَمَضَانَ فَيُدَارِسُهُ القُرْآنَ فَلَرَسُولُ اللِه صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ أَجْوَدُ بِالخَيْرِ مِنَ الرِّيْحِ المُرْسَلَةِ “ ความว่า: ท่านรอซูล(ศ็อลลาลอฮฺ อะลัยฮิวัสสลัม)เป็นผู้ที่มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ที่สุดในการทำความดี โดยท่านจะมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มากที่สุดในเดือนรอมะฎอนขณะที่ญิบริลมาพบท่าน และญิบริลจะมาพบท่านในทุกๆค่ำคืนของรอมฎอนเพื่อศึกษาทวนอัลกุรอานกับท่าน แท้จริงนั้นท่านรอซูลเปี่ยมด้วยความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ด้วยการทำความดียิ่งกว่าสายลมที่พัดโชยเสียอีก[รายงาน อัลบุคอรีย์/6 และมุสลิม/2308],
รอมฎอนและการวิงวอน(ดุอาอฺ)
อัลลอฮฺทรงกล่าวถึงเรื่องการวิงวอนขอพรไว้ในอายะฮฺอัลกุรอานที่เกี่ยวข้องกับเดือนรอมฎอนและการถือศีลอดนี้ด้วย จึงเป็นข้อบ่งชี้หนึ่งที่สะท้อนถึงความสำคัญของมันและเป็นที่ส่งเสริมอย่างยิ่งในช่วงเวลาดังกล่าว อัลลอฮฺตรัสว่า ”وَإِذَا سَأَلَكَ عِبَادِي عَنِّي فَإِنِّي قَرِيْبٌ أُجِيْبُ دَعْوَةِ الدَّاعِ إِذَا دَعَانِ فَلْيَسْتَجِيْبُوا لِي وَلْيُؤْمِنُوا بِي لَعَلَّهُمْ يَرْشُدُونَ “ ความว่า: และเมื่อบ่าวของข้าถามเจ้าถึงข้าแล้วก็(จงตอบเถิดว่า) แท้จริงข้านั้นอยู่ใกล้ ข้าจะตอบรับคำวิงวอนของผู้ที่วิงวอนเมื่อเขาวิงวอนต่อข้า ดังนั้น พวกเขาจงตอบรับข้าเถิด และจงศรัทธาต่อข้า เพื่อว่าพวกเขาจะได้อยู่ในทางที่ถูกต้อง[ซูเราะฮฺ อัลบะอรอฮฺ:186], การดุอาฮฺนั้นเป็นคำสั่งของอัลลอฮฺโดยตรงที่มุอฺมินทุกคนจะต้องตอบรับ อัลลอฮฺตรัสว่า”وَقَالَ رَبُّكُمُ ادْعُونِي أَسْتَجِبْ لَكُمْ” ความว่า: และพระเจ้าของพวกเจ้าตรัสว่า จงวิงวอนขอต่อข้า ข้าจะตอบรับแก่พวกเจ้า[ซูเราะฮฺ ฆอฟิร:60] และท่านรอซูล(ศ็ฮลฯ)กล่าวในหะดีษเกี่ยวกับเดือนรอมฎอนไว้ว่า “..ويُسْتَجَابُ فِيهِ الدُّعَاءُ“ ความว่า: ได้รับตอบรับคำวิงวอน[รายงาน อัตตอบะรอนีย์/2238],และท่านรอซูล(ศ็อลฯ)กล่าวในหะดีษอื่นที่เกี่ยวกับการตอบรับดุอาอฺของผู้ถือศีลอดไว้ว่า “ثَلَاثَةٌ لَا تُرَدُّ دَعْوَتُهُمْ.. الصَّائِمُ حَتَّى يُفْطِر “ ความว่า: มนุษย์สามประเภทที่อัลลอฮฺจะตอบรับดุอาอฺของพวกเขา(โดยไม่มีการปฏิเสธ)หนึ่งในนั้นคือผู้ถือศีลอดจนกว่าเขาจะละศีลอด)
[รายงาน อิบนุ มาญะฮฺ/1752], และการดุอาอฺในค่ำคืนรอมฎอนที่พิเศษเฉพาะนั้น ท่านหญิงอาอิชะฮฺได้ถามรอซูล(ศ็อลฯ)ว่า; ถ้าหากว่าฉันได้ประสบกับค่ำคืนอัลก็อดรฺควรจะขอดุอาอฺอะไรดี? ท่านรอซูล(ศ็อลฯ)ตอบว่า “اللَّهُمَّ إِنَّكَ عَفُوٌّ تُحِبُّ العَفْوَ فَاعْفُ عَنِّي” ความว่า: (เธอจงกล่าวว่า) ข้าแต่อัลลอฮฺ แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงอภัยยิ่ง ทรงรักการอภัย ดังนั้น ขอพระองค์ทรงประทานอภัยให้แก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด[รายงาน อิบนุมาญะฮฺ/3850] และก็ส่งเสริมให้มีการดุอาอฺอื่นๆให้มาก ที่ขอความดีงามทั้งหลายทั้งทางโลกนี้และโลกหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งดุอาอฺจากอัลกุรอานและสุนนะฮฺนบี(ศ็อลฯ).
รอมฎอนและการอิอฺติก๊าฟ
การอิอฺติก๊าฟคือการพำนักในมัสยิดเพื่อปฏิบัติอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ พระองค์ทรงกล่าวไว้ในอายะฮฺที่เกี่ยวข้องกับการถือศีลอดของเดือนรอมฎอนด้วยเช่นกันและเป็นสุนนะฮฺที่ส่งเสรืมให้กระทำอย่างยิ่ง อัลลอฮฺตรัสว่า “ ِوَلاَ تُبَاشِرُوهُنَّ وَأَنْتُمْ عَاكِفُونَ فِي الْمَسَاجِد” ความว่า: และพวกเจ้าจงอย่าสมสู่กับพวกนางขณะที่พวกเจ้าอิอฺติก๊าฟอยู่ในมัสยิด[ซูเราะฮฺ อัลบะกอรอฮฺ:187] และหะดีษที่รายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺว่า ” كَان النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَعْتَكِفُ العَشْرَ الأَوَاخِرَ مِنْ رَمَضَانَ حَتَّى تَوَفَّاهُ اللهُ عَزَّ وَجَلَّ ثُمَّ اعْتَكَفَ أَزْوَاجُهُ مِنْ بَعْدِهِ“ ความว่า: ท่านนบี(ศ็อลฯ) จะทำการอิอฺติก๊าฟในช่วงสิบคืนสุดท้ายของเดือนรอมฎอนจนกระทั่งท่านเสียชีวิตและบรรดาภรรยาของท่านก็ยังคงทำการอิอฺติก๊าฟหลังจากท่านนบีเสียชีวิต[รายงาน อัลบุคอรีย์/2026และมุสลิม/1172], การอิอฺติก๊าฟในสิบวันสุดท้ายของรอมฎอนนี้ท่านนบีจะขะมักเขม้นจริงจังอย่างมาก ตามรายงานของท่านหญิงอาอิชะฮฺว่า” كَانَ رَسُولُ اللهِ صلّى اللهُ عليه وسَلَّم يَجْتَهِدُ فِي العَِشْرِ الأَوَاِخِرِ مَالَا يَجْتَهِدُ فِي غَيْرِهِ” ความว่า: ท่านรอซูลได้ขะมักเขม้นในช่วงสิบคืนสุดท้ายอย่างไม่เคยขะมักเขม้นในช่วงเวลาอื่น[รายงาน มุสลิม/1175] และในช่วงเวลากลางคืนท่านจะจริงจังขยันขันแข็งเป็นพิเศษในการทำอิบาดะฮฺต่ออัลลอฮฺ ดังที่ท่านหญิงอาอิชะฮฺกล่าวว่า” ُكَانَ النَّبِيُّ صَلَّى الُله عَلَيْهِ وَسَلَّم إِذَا دَخَلَ العَشْرُ شَدَّ مِئْزَرَهُ وَأَحْيَا لَيْلَهُ وَأَيْقَظَ أَهْلَه” ความว่า: เมื่อถึงช่วงสิบคืนสุดท้ายของเดือนรอมฎอน ท่านรอซูล(ศ็อลฯ) จะรัดผ้านุ่งไว้ให้แน่น จะทำให้ค่ำคืนมีชีวิตชีวา(ลุกขึ้นทำอิบาดะฮฺอย่างขยันหม้่นเพียรและขะมักเขม้น อดหลับอดนอนในยามค่ำคืน) และท่านจะปลุกคนในครอบครัวของท่าน(ในการทำอิบาดะฮฺเหล่านั้นด้วย) [รายงานอัลบุคอรีย์/2024และมุสลิม/1174], เหตุผลส่วนหนึ่งที่ท่านได้ตระหนักและกำชับกับการจริงจังจริงใจทั้งสิบวันและสิบค่ำคืนสุดท้ายก็เพราะหวังได้รับความโปรดปรานจากอัลลอฮฺและตรงกับคืนอัลก็อดรฺ ซึ่งผลบุญที่ได้รับจะทวีคูณ ได้รับการอภัยโทษและการหลุดพ้นจากไฟนรก ดังหะดีษรอซูล(ศ็อลฯ)กล่าวว่า”وَفِيْهِ لَيْلَةٌ خَيْرٌ مِن أَلْفِ شَهْرٍ مَنْ حُرِمَهَا فَقَد حُرِمَ الخَيْرَ كُلَّهُ وَلَا يُحْرَمُ خَيْرَهَا إلَّا مَحْرُومٌ” ความว่า: และเดือนนี้นั้นมีค่ำคืนหนึ่งที่ดียิ่งกว่าหนึ่งพันเดือน บุคคลใดที่พลาดจากค่ำคืนนี้แน่นอนเขาได้ถูกห้ามจากความดีทั้งมวล และไม่มีผู้ใดที่จะพลาดจากความดีของมันนอกจากผู้ที่ถูกห้ามเท่านั้น[รายงาน อิบนุมาญะฮฺ/1644] และหะดีษรอซูล(ศ็อลฯ)กล่าวว่า”وَلِلَّهِ عُتَقَاءُ ِمَن النَّارِ وَذَلِكَ كُلُّ لَيْلَةٍ”ความว่า: และเป็นเอกสิทธิ์ของอัลลอฮฺในการปลดปล่อยบ่าวของพระองค์เป็นจำนวนมากจากไฟนรก ซึ่งการปลดปล่อยให้พ้นจากไฟนรกนี้จะเกิดขึ้นในทุกๆค่ำคืนของเดือนรอมฎอน[รายงาน อัตติรมิซีย์/682]
ความประเสริฐ กิจกรรมและผลจากรอมฎอน
ประทานอัลกุรอาน
บัญญัติถือศีลอด
ค่ำคืนอัลก็อดร์
ความจำเริญ
ปลอดจากความชั่วร้ายของซัยฏอนมารร้าย
ประตูสวรรค์และการทำความดีถูกเปิด
ประตูนรกและความชั่วร้ายถูกปิด
ส่งเสริมการกิยามุลลัยล์
ส่งเสริมการวิงวอนขอดุอาอฺให้มาก
ส่งเสริมการอิอฺติกาฟ
ส่งเสริมการให้ทานละศีลอดและบริจาคศอดะกอฮฺ
ส่งเสริมการอ่านและศึกษาอัลกุรอาน
ส่งเสริมการให้ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเมตตา
เกิดความอดทนอดกลั้น จิตใจเข้มแข็ง
เพิ่มพูนริสกีผู้ศรัทธามุอฺมิน
เพิ่มผลบุญทำความดีเป็นทวีคูณ
ได้รับการอภัยโทษและหลุดพ้นจากไฟนรก
เกิดความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ(ซุบฮานะฮู-วะ-ตะอาลา)

บรรณานุกรม
1.อัลกุรอาน อัลกะรีม
2.อัลฮะดืษ
3.อัลกุรอานพร้อมความหมายภาษาไทย โดย สมาคมนักเรียนเก่าอาหรับ ประเทศไทย
4.ให้ร่อมะฎอนพาใจสู่ตักวา.เชคอับดุรร็อซซ็าก อับดุลมุหฺซิน อัลบัดร์-เขียน.อัลอิศลาหฺ สมาคม-จัดพิมพ์
5.คู่มือรอมฎอนฉบับใคร่ครวญ.นาอีม วงศ์เสงี่ยม-เรียบเรียง.
Comments are closed